ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสุนัขของคุณ
โรคผิวหนังอักเสบ (Hot Spot) หรือ โรคผิวหนังอักเสบแบบชื้นเฉียบพลัน (Pyotraumatic Dermatitis) จัดเป็นหนึ่งในโรคผิวหนังสุนัขที่พบได้บ่อยที่สุด โดยสุนัขจะมีแผลอักเสบ ผื่นแดง และรอยบวม ซึ่งอาจปรากฏที่ใดก็ได้บนร่างกาย แต่มักจะพบที่หัว ขา และสะโพก ในกรณีที่รุนแรงก็อาจมีหนองไหลออกมาด้วย
อาการผื่นแพ้ แดงในสุนัขสามารถปรากฏและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน จึงแนะนำให้หมั่นตรวจเช็กผิวหนังของสุนัขเป็นประจำ โดยเฉพาะสุนัขที่มีขนหนา เพราะรอยโรคอาจซ่อนอยู่ใต้ก้อนขนที่พันกัน
โรคผิวหนังอักเสบมักจะเกิดจากการเกาหรือข่วนตัวเองอย่างรุนแรงจนส่งผลให้เกิดแผลเปิด ซึ่งอาการคันก็เกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น
การแพ้อาหารหรือสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมอาจทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง ซึ่งกระตุ้นให้สุนัขข่วนและเกาจนเกิดแผลอักเสบบนผิวหนัง นอกจากนี้การกัดต่อยจากหมัด ไร หรือแมลงชนิดอื่น ๆ ก็ก่อให้เกิดผื่นแพ้ แดงในสุนัขได้เช่นกัน
การติดเชื้อที่หู หรือการติดเชื้อที่ผิวหนังจากแบคทีเรียหรือยีสต์ (Pyoderma) ส่งผลให้เกิดแผลอักเสบได้ การติดเชื้อเหล่านี้มักจะทำให้สุนัขรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้ต้องเกาหรือข่วนตัวเองบ่อย ๆ
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ภาวะนี้ทำให้สุนัขมีอาการคัน ซึ่งนำไปสู่การเกาตัวอย่างรุนแรงจนเกิดเป็นแผลอักเสบและก่อให้เกิดผื่นแพ้ แดงในสุนัข
โรคผิวหนังอักเสบมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศร้อนและความชื้นสูง สุนัขที่ตัวเปียกจากการว่ายน้ำ อาบน้ำ หรืออยู่ในพื้นที่อับชื้นมักจะมีความเสี่ยงต่อโรคสูง สุนัขบางสายพันธุ์ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, เซนต์เบอร์นาร์ด, เยอรมันเชพ,เพิร์ด ลาบราดอร์ และร็อตไวเลอร์ ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมากขึ้นเนื่องจากมีขนหนา
โรคผิวหนังอักเสบอาจทำให้น้องหมารู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก ขอแนะนำให้พาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันทีหากพบอาการต่อไปนี้
เมื่ออาการผิวหนังระคายเคืองในสุนัขลุกลามหรือรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดสะเก็ดลอกและอาจถึงขั้นมีหนองไหลออกมา อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนังอักเสบมีอาการคล้ายกับปัญหาผิวหนังอื่น ๆ ทางที่ดีควรพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เมื่อพบผื่นแพ้ แดงในสุนัข คุณหมอสามารถวินิจฉัยอาการได้อย่างแม่นยำและแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้
การรักษาโรคผิวหนังอักเสบหรือผิวหนังระคายเคืองในสุนัขมีกระบวนการหลายขั้นตอน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว รักษาการติดเชื้อ และป้องกันการเกาหรือข่วนบริเวณที่เป็นแผล ขั้นตอนในการรักษามีดังนี้
จะทำรอบ ๆ แผลเพื่อป้องกันความอับชื้น เนื่องจากต้องทำให้แผลแห้งจึงจะหาย ขั้นตอนนี้ยังช่วยให้การรักษาเฉพาะจุดง่ายขึ้นด้วย
ทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยน้ำอุ่นและน้ำยาฆ่าเชื้อสูตรอ่อนโยน เช่น คลอร์เฮกซิดีน ซึ่งช่วยลดแบคทีเรียบนรอยโรคและส่งเสริมการรักษา
สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยารักษาผื่นแพ้ แดงสำหรับสุนัขเพื่อบรรเทาอาการคัน เนื่องจากรอยโรคจะแย่ลงหากสุนัขยังคงกัดหรือเลียแผลอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาผื่นแพ้ แดงในสุนัข
ต้องป้องกันไม่ให้สุนัขกัด เลีย หรือเกาแผล แต่ไม่แนะนำให้ปิดแผล อาจใช้ปลอกคอกันเลียแทน
การสังเกตแผลหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ หากอาการลุกลามหรือไม่ดีขึ้นภายใน 2 – 3 วัน อาจจำเป็นต้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะหรือยารักษาผื่นแพ้ แดงสำหรับสุนัขเพิ่มเติม
การรักษาสุขอนามัยที่ดี การกรูมมิ่งเป็นประจำ และการรักษาโรคติดเชื้อทางผิวหนังอย่างเหมาะสมเป็นแนวทางป้องกันที่ได้ผลดี หากน้องหมาของคุณชอบว่ายน้ำหรืออาบน้ำบ่อย ๆ ก็ควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าขนของพวกเค้าแห้งสนิททุกครั้ง
การเลือกอาหารคุณภาพดีก็มีส่วนช่วยเช่นกัน แนะนำให้เลือกอาหารที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันที่พบในน้ำมันปลา เนื่องจากช่วยสร้างเกราะป้องกันผิวที่แข็งแรงและมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ผู้เลี้ยงสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารเสริมและปริมาณอาหารที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้
หากสุนัขเลียตัวบ่อยผิดปกติเนื่องจากความเครียดหรือความเบื่อหน่าย การออกกำลังกายเป็นประจำหรือทำกิจกรรมฝึกสมองช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาผิวหนังระคายเคืองในสุนัขได้อีกด้วย
โรคผิวหนังอักเสบในสุนัขอาจเป็นปัญหาที่น่ากังวล แต่ด้วยการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสม เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ การพบสัตวแพทย์เป็นประจำก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้เราระบุปัญหาและจัดการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ขั้นตอนการรักษาที่สำคัญคือการทำความสะอาดบริเวณแผลเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อาจต้องเล็มหรือตัดขนเพื่อให้รักษาเฉพาะจุดได้ง่ายขึ้น หากอาการลุกลามหรือรุนแรงมาก อาจต้องใช้ยารักษาผื่นแพ้ แดงสำหรับสุนัขหรือยาปฏิชีวนะเพิ่มตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
อาการผื่นแพ้ แดงในสุนัขไม่สามารถหายได้เอง มันทำให้สุนัขเจ็บปวด มีแผลอักเสบ รอยบวมแดง และขนร่วง แผลสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้อย่างรวดเร็วหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา สุนัขที่มีรอยโรคอักเสบเหล่านี้จะเลีย กัด และข่วนบริเวณแผลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาการแย่ลง
โรคผิวหนังอักเสบมักจะไม่หายเอง แต่สามารถรักษาได้ด้วยยาที่เหมาะสม หากเริ่มรักษาทันทีที่สังเกตเห็นอาการในระยะเริ่มแรก จะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ทางที่ดีควรพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์เพื่อดูแลรักษาให้อาการคันน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
อาการที่พบได้ในระยะเริ่มแรกคือรอยแดงเล็ก ๆ คล้ายกับรอยแมลงกัด จากนั้นรอยจะเริ่มลุกลามกลายเป็นรอยบวมแดง เป็นแผลแฉะ และอักเสบ สุนัขอาจขนร่วง มีหนองไหล และมีกลิ่นตัวไม่พึงประสงค์ รวมถึงมักจะมีอาการไม่สบายตัว เกาหรือข่วนตัวเองบ่อยขึ้น รอยโรคผิวหนังระคายเคืองในสุนัขสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ แต่มักจะพบบริเวณสะโพก แขนขา และหัว