PEDIGREE TH
ค้นหา
    การกรูมมิ่งและป้องกันปรสิต

    โรคผิวหนังสุนัข

    Symptoms & Treatment for Various Types of Worms in Dogs

    ปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้ในสุนัขมีอะไรบ้าง?

    โรคผิวหนังในสุนัขเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และเกิดจากสาเหตุหลายประการ ถือเป็นเรื่องปกติหากน้องหมาของคุณจะแสดงอาการคันบ้างเป็นครั้งคราว แต่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมผิดปกติ เช่น การกัดตัวเองและการเกาอย่างต่อเนื่องไม่หยุด เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาผิวหนัง หากกรณีนี้เกิดขึ้นกับน้องหมา ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด นอกจากนี้ผิวของน้องหมาก็มีโอกาสเกิดอาการแพ้สารบางชนิดหรือแพ้สบู่ได้เช่นเดียวกับผิวของคน โดยปัญหาผิวหนังที่พบได้ในน้องหมามีดังต่อไปนี้
     

    • แผลพุพอง
    • แผลหรือรอยแผลบนผิวหนัง
    • ผิวแห้งหรือมีสะเก็ดแห้งกรัง
    • ผื่น
    • มีก้อนนูนบนผิวหนัง
    • มีรอยแดง
    • มีสะเก็ดรังแค
    • รอยนูนแดง
    • อาการคันอย่างรุนแรง
    • การเลียที่มากผิดปกติ
    • การเกาที่มากผิดปกติ
    • ขนร่วง
    • ฮอตสปอต หรือผิวหนังอักเสบ (หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าโรคผิวหนังอักเสบเฉียบพลัน)

    ความสำคัญของการป้องกันปัญหาโรคผิวหนัง

    โรคผิวหนังในสุนัขเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิตที่ทำให้น้องหมาต้องเข้ารับการรักษากับสัตวแพทย์ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ถูกมองข้ามอยู่บ่อย ๆ เพราะสังเกตอาการได้ยาก โดยผิวหนังจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียที่ร้ายร้ายตามมาได้ ดังนั้นโรคผิวหนังสุนัขจึงเป็นปัญหาสำคัญที่เจ้าของควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

    น้องหมาส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาผิวหนังในช่วงวัยใด?

    โรคภูมิแพ้ผิวหนังมักจะเกิดขึ้นในน้องหมาช่วงวัย 6 เดือน – 3 ปี แต่น้องหมาเป็นโรคผิวหนังทั่วไปได้ในทุกช่วงวัย

    ชนิดของโรคผิวหนังสุนัข

    ปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัขที่เจ้าของทุกคนควรรู้ มีดังต่อไปนี้:

    • ภาวะภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม

      – ปัญหาผิวหนังประเภทนี้ถูกเรียกอีกอย่างว่าภาวะภูมิแพ้กรรมพันธุ์ โดยสุนัขเป็นโรคผิวหนังจะมีอาการคันและระคายเคืองเกิดขึ้น สำหรับภาวะภูมิแพ้สิ่งแวดล้อมอาจมีสาเหตุมาจากการแพ้หญ้า ไรฝุ่น และละอองเกสร หากมีภาวะภูมิแพ้อย่างรุนแรง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อรับวิธีรักษาที่เหมาะสม

    • ภาวะภูมิแพ้อาหาร

      – หากพบว่าน้องหมาเกาหน้า เกาหู อุ้งเท้า และก้นไม่หยุด นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าพวกเค้ามีภาวะแพ้อาหาร โดยภาวะภูมิแพ้อาหารในน้องหมาเป็นผลมาจากอาหารที่กินเข้าไป น้องหมาบางตัวอาจแพ้โปรตีนที่พบในเนื้อวัว เนื้อไก่ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ข้าวสาลี และผักบางชนิด สำหรับการวินิจฉัยและการรักษานั้น สัตวแพทย์จะขอให้งดกินอาหารบางชนิดเป็นเวลา 8 – 12 สัปดาห์ เพื่อยืนยันการแพ้อาหาร หาสาเหตุของอาการแพ้ และกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสม

    • รูขุมขนอักเสบ

      - เป็นภาวะที่รูขุมขนของน้องหมาเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อทางผิวหนัง อาการที่พบได้คือ มีแผลพุพอง รอยแดง และสะเก็ดแผลบนผิวหนัง หากพบว่ามีผิวหนังสุนัขอักเสบ หรือรูขุมขนอักเสบ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

    • แผลพุพองชนิดตื้น

      – เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในลูกสุนัข โดยจะพบบริเวณท้องของพวกเค้า แผลอาจแตกและตกสะเก็ดได้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

    • โรคกลาก

      – เป็นหนึ่งในปัญหาผิวหนังที่รุนแรง รวมถึงแพร่เชื้อได้ง่ายทั้งในคนและสัตว์เลี้ยง น้องหมาที่ติดเชื้อขี้กลากจะมีผิวหนังแดงเป็นขุยหรือแตกลาย และมีผื่นเป็นรูปวงแหวนบริเวณหัว อุ้งเท้า ใบหู และขาหน้า หากพบว่าสุนัขเป็นโรคผิวหนัง วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือการพาไปพบสัตวแพทย์ในทันที

    • โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อยีสต์

      - การติดเชื้อชนิดนี้มักเกิดในบริเวณอับชื้น เช่น ช่องหู ระหว่างนิ้วเท้า ขาหนีบ และบริเวณทวารหนักและอัณฑะหรือช่องคลอด การติดเชื้อจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อหนาขึ้น รวมถึงทำให้น้องหมากัดและเกาบริเวณนั้นไม่หยุด และส่งกลิ่นเหม็น หากน้องสุนัขมีอาการดังกล่าว อาจทำให้สุนัขเป็นโรคผิวหนัง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อรับวิธีรักษา ที่เหมาะสม

    • โรคผิวหนังที่เกิดจากเห็บหมัด

      - เห็บและหมัดเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญให้น้องหมาเป็นอย่างมาก เนื่องจากพวกมันเกาะติดกับผิวหนังและดูดเลือดของพวกเค้า นอกจากนี้น้ำลายของพวกมันยังทำให้สุนัขคันผิวหนังและเกิดอาการระคายเคืองได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้สุนัขผิวหนังอักเสบและมีรอยแดงอีกด้วย ทั้งนี้เจ้าเห็บหมัดตัวร้ายยังแฝงตัวอยู่ตามเบาะนอนของน้องหมาด้วยนะ ดังนั้นเจ้าของจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดเบาะนอนของพวกเค้าเป็นประจำ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันเห็บหมัดหลายชนิด เช่น ยาชนิดกิน หรือยาชนิดหยดหลัง ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์และรับการป้องกันที่เหมาะสม

    • โรคผิวหนังที่เกิดจากตัวไร

      – ปัญหาผิวหนังประเภทนี้เกิดจากตัวไรที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของน้องหมา สำหรับวิธีระบุโรคจะทำได้โดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ตรวจดูบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อเท่านั้น หากพบว่าสุนัขเป็นโรคผิวหนัง วิธีรักษาคือกินยาและใช้แชมพูรักษาโรคผิวหนังที่สั่งโดยสัตวแพทย์

    • สะเก็ดรังแค

      – เป็นปัญหากวนใจทั้งสำหรับคนและน้องหมาเลยทีเดียว สะเก็ดรังแคหรือเศษผิวหนังที่ลอกหลุดออกมาเป็นแผ่นแห้ง ๆ ขุย ๆ ปัญหานี้ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังสุนัข สัตวแพทย์อาจให้ใช้แชมพูรักษาโรคผิวหนังเพื่อทำความสะอาดและกำจัดรังแค แต่จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุของการเกิดที่แฝงอยู่ด้วย

    • โรคลูปัส

      – เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยรอยโรคที่พบได้คือแผลเปิด แผลพุพอง ซึ่งมักพบรอยโรคบริเวณผิวจมูก ผิวหนังรอบตา และอุ้งเท้า ทั้งนี้หากน้องหมาเป็นโรคผิวหนังนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นควรพบสัตวแพทย์เพื่อหาเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องในทันที

    การรักษาโรคผิวหนังสุนัข

    โรคผิวหนังสุนัขสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบที่รักษาหาย และแบบที่รักษาไม่หาย โดยจะต้องทำการทดสอบเพื่อแยกแยะประเภทของโรค คุณสามารถดูชนิดของโรคในแต่ละประเภทเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้:

    โรคผิวหนังในสุนัขที่รักษาหายโรคผิวหนังในสุนัขที่รักษาไม่หาย
    โรคผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรียไฮโปไทรอยด์
    โรคผิวหนังติดเชื้อยีสต์กลุ่มอาการคุชชิง (ความผิดปกติของต่อมหมวกไต)
    โรคกลาก 
    สะเก็ดรังแค 
    สุนัขผิวหนังอักเสบ / มีอาการขนร่วงเป็นหย่อม ๆ 

    วิธีการดูแลรักษาปัญหาผิวหนังเบื้องต้น

    หากสุนัขเป็นโรคผิวหนัง หากอาการไม่รุนแรงมาก ไม่มีอาการ อักเสบร่วมด้วย มีวิธีรักษาหรือวิธีดูแลเบื้องต้นที่เจ้าของสามารถทำเองได้ที่บ้านมีดังต่อไปนี้:

    • แชมพูรักษาโรคผิวหนัง

      – เป็นแชมพูสำหรับการรักษาหมาเป็นโรคผิวหนังโดยเฉพาะ แชมพูเหล่านี้จะประกอบด้วยสารทำให้แห้งหรือยาฆ่าเชื้อโรคที่ช่วยในเรื่องการทำความสะอาด ทำให้แผลแห้ง และลดอาการสุนัขคันผิวหนังบริเวณรอบ ๆ แผล

    • วิตามินอี

      - น้ำมันที่มีส่วนผสมของวิตามินอีจะช่วยซ่อมแซมผิวหนังในระหว่างการติดเชื้อ โดยจะช่วยกระตุ้นการสมานแผลได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยปลอบประโลมและมอบความชุ่มชื้นให้กับผิวอีกด้วย

    หากสุนัข มีอาการคันมากขึ้น มีแผล เกิดการอักเสบ บวม แดง ร้อน ควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรค เพื่อการรักษา ที่เหมาะสม

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคผิวหนังในสุนัข:

    ควรดูแลน้องหมาเป็นโรคผิวหนังอย่างไร?

    หาก ที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติตามแผนการรักษาของสัตวแพทย์

    ปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในน้องหมามีอะไรบ้าง?

    โรคผิวหนังอักเสบในสุนัขมีลักษณะอย่างไร?

    โรคผิวหนังสุนัขเป็นปัญหาสุขภาพที่อันตรายหรือไม่?

    Pedigree imagery
    ช้อปผลิตภัณฑ์เพดดิกรี®
    Close popup