PEDIGREE TH
ค้นหา
สุขภาพของสุนัข

ทำไมสุนัขชอบแลบลิ้น

ทำไมสุนัขชอบแลบลิ้น

ถึงแม้จะพูดคุยกับเราไม่ได้ แต่สุนัขสามารถสื่อสารผ่านเสียงร้องและภาษากาย ตั้งแต่การเห่าอย่างตื่นเต้นไปจนถึงการกระดิกหางไม่หยุด เราสามารถเรียนรู้ภาษากายต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของน้องหมาได้ ซึ่งหนึ่งในท่าทางที่เราพบได้บ่อย ๆ คือการแลบลิ้น พฤติกรรมนี้ทั้งน่าสนใจและชวนให้สงสัย โดยในบทความนี้ เราจะเจาะลึกถึงสาเหตุที่สุนัขยื่นลิ้นออกมา พร้อมทำความรู้จักโรคลิ้นห้อยในสุนัข (Hanging Tongue Syndrome) กันให้มากขึ้น

ทำไมสุนัขถึงยื่นลิ้นออกมา

การที่ลิ้นสุนัขยื่นออกมามากกว่าปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งต่อไปนี้คือสาเหตุที่พบบ่อยและความหมายเบื้องหลังของพฤติกรรมนี้

  • โรคลิ้นห้อยในสุนัข - 

ลูกสุนัขบางตัว โดยเฉพาะสุนัขพันธุ์เล็กหรือสุนัขหน้าแบน (เช่น ปั๊กรือบูลด็อก) มักจะมีอาการที่เรียกว่ากลุ่มอาการลิ้นห้อย เนื่องจากมีลิ้นขนาดใหญ่เกินไปสำหรับช่องปากหรือมีฟัน/กรามไม่ตรงแนว แม้ว่าจะดูผิดปกติ แต่ไม่เป็นอันตราย

  • สัญญาณของความผ่อนคลาย - 

คุณอาจพบว่าสุนัขยื่นลิ้นออกมาหลังตื่นจากการงีบหลับ เพลิดเพลินกับอาหารสุนัขแสนอร่อย หรือหลังการเล่นสนุก นี่เป็นเพราะพวกเค้ารู้สึกผ่อนคลาย ลิ้นที่ห้อยออกมาเป็นหนึ่งในสัญญาณของความสุข มันเทียบเท่ากับการยิ้มกว้างของเรานั่นเอง

  • กลไกระบายความร้อน - 

สุนัขไม่มีเหงื่อออกทางผิวหนัง แต่พวกเค้าระบายความร้อนด้วยการแลบลิ้นหอบหายใจ ปล่อยให้ความชื้นระเหยออกไปเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย หากน้องหมาลิ้นห้อยและหอบหายใจแรง โดยเฉพาะหลังทำกิจกรรมหรือในวันที่อากาศร้อน แนะนำให้ดูแลอย่างใกล้ชิด จัดเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอ และพาพวกเค้าไปพักในที่ร่มหรือมุมที่อากาศถ่ายเท

  • ผลข้างเคียงจากการรักษา - 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาหรือการรักษาบางอย่าง อาจทำให้มีอาการน้ำลายไหลมาก ปากแห้ง และอาการอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ลิ้นสุนัขห้อยออกจากปากบ่อยขึ้น หากคุณกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมหลังจากเริ่มใช้ยา ให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นได้

นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปแล้วข้างต้น น้องหมาอาจแลบลิ้นบ่อยขึ้นเพราะสาเหตุเหล่านี้

  • ปัญหาช่องปากและฟัน - 

อาการปวดฟันหรือฟันหลุดอาจส่งผลต่อวิธีเก็บลิ้นสุนัข ในกรณีเช่นนี้ คุณอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กลิ่นปากหรือกินอาหารลำบาก

  • อาการบาดเจ็บ - 

การบาดเจ็บบริเวณขากรรไกร ปาก หรือลิ้นอาจทำให้เกิดอาการบวมหรือทำลายเส้นประสาท ทำให้ลิ้นสุนัขห้อยจากปากบ่อย ๆ

  • ปัญหาทางระบบประสาท - 

เป็นสาเหตุที่พบไม่บ่อย แต่ปัญหาทางระบบประสาทอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อควบคุมลิ้นได้เช่นกัน

โรคลิ้นห้อยในสุนัข

สุนัขลิ้นห้อยเป็นสัญญาณของการผ่อนคลายหรือความพึงพอใจ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่าอาการลิ้นห้อย ซึ่งทำให้ลิ้นสุนัขห้อยจากปากอยู่ตลอดเวลา แม้จะไม่ใช่อาการอันตรายร้ายแรง แต่ผู้เลี้ยงก็ควรทำความเข้าใจ เผื่อในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล

สัญญาณเตือนและลักษณะอาการของโรคลิ้นห้อยในสุนัข

สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของโรคนี้คือลิ้นสุนัขห้อยออกจากปากเป็นเวลานานหรือตลอดเวลา และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • น้ำลายไหลมาก - 

ลิ้นที่ยื่นออกมาตลอดเวลาอาจทำให้ปากแห้ง กระตุ้นให้น้ำลายไหลมากขึ้น

  • กินอาหารและน้ำลำบาก - 

ขึ้นอยู่กับว่าลิ้นยื่นออกมามากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจขัดขวางการกินอาหารหรือน้ำได้

  • ลิ้นแห้งและแตก - 

เมื่อแลบลิ้นเป็นเวลานาน ๆ ลิ้นสุนัขอาจแห้งและแตกจนเป็นแผลได้

การวินิจฉัยโรคลิ้นห้อยในสุนัข

หากพบว่าน้องหมาของคุณมีอาการข้างต้น ควรนัดหมายกับสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง โดยคุณหมอจะเริ่มจากการมองหาสิ่งผิดปกติเหล่านี้

  • ปัญหาช่องปากและฟัน - 

น้องหมาที่มีฟันหลุด โดยเฉพาะเขี้ยวล่าง อาจทำให้ลิ้นหลุดออกได้ง่ายขึ้น

  • ความผิดปกติของฟันกราม - 

สุนัขบางตัวมีฟันล่างยื่น ฟันกรามเกิน หรือขากรรไกรไม่ตรงแนว ทำให้ยากที่จะเก็บลิ้นไว้ข้างในปาก

  • ปัญหาทางระบบประสาท - 

ในบางกรณี ความเสียหายของเส้นประสาทอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อลิ้น ส่งผลให้ลิ้นห้อยออกมา

การรักษาโรคลิ้นห้อยในสุนัข

ข่าวดีก็คือ ในหลายกรณี โรคลิ้นห้อยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ เลย! อย่างไรก็ตาม หากสัตวแพทย์สังเกตเห็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น ปัญหาทางทันตกรรม น้องหมาก็อาจได้รับการดูแลรักษาเพิ่มเติม หรือหากลิ้นที่ยื่นออกมาทำให้น้องหมากินอาหารยากหรือรู้สึกไม่สบาย อาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้

  • การรักษาในช่องปาก - 

ในบางกรณี งานทันตกรรมหรือการผ่าตัดเล็กน้อยอาจช่วยได้ หากตำแหน่งของลิ้นเกิดจากปัญหาทางโครงสร้าง

  • การใช้ยา - 

สัตวแพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยจัดการกับอาการปวดหรือการอักเสบหากจำเป็น

มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ลิ้นสุนัขห้อยออกมาจากปาก แต่ส่วนใหญ่เป็นเพียงสัญญาณของความสุขหรือกลไกระบายความร้อนของร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากคุณกังวลว่าลิ้นที่ยื่นออกมาบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ คุณสามารถปรึกษาหรือนัดตรวจกับสัตวแพทย์ได้เสมอ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับพฤติกรรมลิ้นห้อยในสุนัข

1. โรคลิ้นห้อยในสุนัขอันตรายหรือไม่?

อาการลิ้นห้อยโดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย มักจะพบบ่อยในสุนัขที่มีหน้าแบน (brachycephalic) อย่างไรก็ตาม ให้สังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น น้ำลายไหลมาก กินอาหารลำบาก หรืออาการไม่สบายตัว เพราะอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่

2. ทำไมสุนัขถึงยื่นลิ้นออกมาโดยกะทันหัน?

3. สุนัขแลบลิ้นเมื่อรู้สึกเครียดหรือไม่? 

4. ทำไมสุนัขถึงยื่นลิ้นออกมาเวลาพักผ่อน?

Pedigree imagery
ช้อปผลิตภัณฑ์เพดดิกรี®
Close popup