PEDIGREE TH
ค้นหา

โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและลูกสุนัข อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและลูกสุนัข อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อที่อันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ติดเชื้อมักจะเสียชีวิตเกือบทุกราย มันส่งผลกับระบบประสาทส่วนกลางและก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากมาย โดยเฉพาะในสุนัข ลูกสุนัขก็มีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษเช่นกัน ผู้เลี้ยงจึงควรทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีป้องกันโรคร้ายนี้อย่างถูกต้อง

โรคพิษสุนัขบ้าคือโรคอะไร? 

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูล Rhabdoviridae ซึ่งติดต่อโดยการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น การกัดหรือข่วน เมื่อเข้าไปในร่างกาย เชื้อไวรัสจะเดินทางไปตามเส้นประสาทและไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงและมีปัญหาทางระบบประสาทต่าง ๆ ตามมา โรคพิษสุนัขบ้าจัดเป็นโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตและยังไม่มียารักษา

ลูกสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่?

ได้ ลูกสุนัขก็มีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้าเช่นเดียวกับสุนัขโตเต็มวัย และเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่รวมกับนิสัยอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติ ทำให้ลูกสุนัขมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากขึ้น นอกจากนี้ลูกสุนัขส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันอย่างครบถ้วน จึงไม่แนะนำให้พาออกไปนอกบ้านหรือไปยังพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ

สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัข

โรคร้ายนี้ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงสุนัขที่ซื่อสัตย์ของเราด้วย เราจึงควรทำความเข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อเพื่อที่จะป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสาเหตุที่พบได้มีดังนี้

  • น้ำลายที่ติดเชื้อและการกัด – เชื้อไวรัสชนิดนี้อาศัยอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ลูกสุนัขอาจติดโรคจากการถูกกัด โดยสัตว์ที่มักจะเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ แร็กคูน สกั๊งค์ สุนัขจิ้งจอก และค้างคาว อย่างไรก็ตาม สุนัขหรือแมวที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก็อาจเป็นพาหะนำโรคได้เช่นกัน

  • บาดแผลเปิดและการสัมผัสทางน้ำลาย – แม้ว่าจะพบได้น้อย แต่เชื้อไวรัสยังสามารถแพร่กระจายได้หากน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อสัมผัสกับแผลเปิดหรือเยื่อเมือก (เยื่อบุตา จมูก หรือปาก) ของลูกสุนัขที่อ่อนแอ

  • ลูกสุนัขที่ไม่ได้รับวัคซีน – การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพ โดยมีกฎหมายควบคุมให้เจ้าของนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย ลูกสุนัขที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมักจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อกำหนดแนวทางการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัข

เชื้อไวรัสร้ายแรงชนิดนี้จะโจมตีไปที่ระบบประสาทส่วนกลาง ผู้เลี้ยงจึงต้องทำความเข้าใจอาการของโรคทั้งในระยะเริ่มแรกและระยะท้าย เนื่องจากการดูแลรักษาทันทีเป็นสิ่งสำคัญในการรับรองความปลอดภัยของทั้งสัตว์และคนรอบข้าง

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในระยะเริ่มแรก

อาการเริ่มต้นของโรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัขอาจสังเกตและตรวจพบได้ยาก เพราะส่วนใหญ่จะแสดงอาการทั่วไปและคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ เช่น

  • มีไข้ – อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นเป็นหนึ่งในอาการเริ่มต้นของโรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัข
  • เซื่องซึม – ลูกสุนัขขี้เล่นของคุณมักจะดูเหนื่อยหรือนิ่งผิดปกติ
  • ความอยากอาหารลดลง – ลูกสุนัขอาจกินอาหารและน้ำลดลง 
  • พฤติกรรมเปลี่ยนเล็กน้อย – การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่น แสดงอาการวิตกกังวลหรือติดเจ้าของมากขึ้น

ระยะแสดงอาการและระยะท้าย

เนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสภายในร่างกาย อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัขจึงเด่นชัดมากขึ้น

  • พฤติกรรมเปลี่ยน – การติดเชื้อมักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่สำคัญ โดยลูกสุนัขอาจมีอาการเหล่านี้
  • แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว – กัดหรืองับอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • กระสับกระส่ายและอยู่ไม่นิ่ง – เดินวนไปมา หรือนั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้
  • มีอาการมึนงง – ดูสับสนหรือมึนงงแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย
  • เก็บตัวหรือหลีกหนี – เป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยพบในลูกสุนัขทั่วไป
  • อาการชัก – เป็นอาการทางระบบประสาทที่พบบ่อยในระยะนี้
  • กลืนลำบาก – เชื้อไวรัสอาจทำลายกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน ซึ่งนำไปสู่อาการต่อไปนี้
  • น้ำลายไหลมากหรือมีน้ำลายฟูมปาก – เนื่องจากไม่สามารถกลืนน้ำลายได้
  • กินลำบาก – ทำให้กินอาหารและน้ำได้น้อยลงจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
  • อัมพาต – การติดเชื้ออาจทำให้ลูกสุนัขเป็นอัมพาตได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ขาหลังและค่อย ๆ กระจายไปทั่วร่างกาย

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

การป้องกันเป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับโรคร้ายแรงนี้ โดยวิธีป้องกันที่สำคัญ ได้แก่

  • ฉีดวัคซีน – พาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อมีอายุ 4 เดือนขึ้นไป จากนั้นก็ปฏิบัติตามตารางการฉีดวัคซีนที่สัตวแพทย์กำหนด

  • อยู่ห่างจากสัตว์จรจัด – ดูแลลูกสุนัขอย่างใกล้ชิดเมื่ออยู่นอกบ้าน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ที่ไม่คุ้นเคยหรือสัตว์จรจัด 

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ – การพบสัตวแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าการฉีดวัคซีนของลูกสุนัขเป็นไปอย่างเหมาะสม และพวกเค้าจะได้รับการดูแลทันทีหากถูกกัดหรือมีบาดแผล

การรักษาโรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัข

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โรคติดต่อนี้เป็นอันตรายถึงชีวิต และในปัจจุบันก็ยังไม่มียาหรือวิธีรักษาให้หายขาด หากลูกสุนัขถูกกัดโดยสัตว์ที่มีความเสี่ยง แนะนำให้ไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อทำความสะอาดบาดแผลและฉีดวัคซีนป้องกัน รวมถึงอาจต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลินเพื่อให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย แต่จะต้องทำก่อนที่จะแสดงอาการเท่านั้น

แม้จะเป็นโรคที่อันตราย แต่ก็ป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าหรือสัตว์ที่ไม่คุ้นเคย และไปพบสัตวแพทย์ทันทีเมื่อมีบาดแผลจากการกัด วิธีง่าย ๆ เหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากเลยทีเดียว

เข้าชมเว็บไซต์ของเราเพื่อค้นหาและอ่านบทความเกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วยในสุนัขเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

ลูกสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่?

ลูกสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ โดยอาจติดเชื้อจากการถูกสัตว์กัดหรือข่วน โดยเฉพาะสัตว์ป่า เช่น ค้างคาวหรือแร็กคูน ลูกสุนัขที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

โรคพิษสุนัขบ้าในลูกสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่?

ลูกสุนัขควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อไหร่?

ลูกสุนัขมีโอกาสรอดจากโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่?

Pedigree imagery
ช้อปผลิตภัณฑ์เพดดิกรี®
Close popup