ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสุนัขของคุณ
หากคุณเป็นเจ้าของน้องหมา คุณต้องระวังเหล่าปรสิตตัวร้ายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพพวกเค้ากันให้ดีเลย เนื่องจากปรสิตหรือพยาธิถือเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคความผิดปกติของการทำงานในระบบทางเดินอาหาร โดยชนิดของพยาธิที่พบได้ในน้องหมาก็จะมีทั้งพยาธิตัวกลม พยาธิแส้ม้า พยาธิปากขอ และพยาธิตัวตืด หนอนพยาธิเหล่านี้มักจะอาศัยอยู่ในลำไส้ และจะกินเลือดหรือแย่งอาหารน้องหมา ต้องบอกเลยว่าปัญหาพยาธิในสุนัขอันตรายกว่าที่เราคิดมาก มันสามารถเพิ่มจำนวนและทำให้น้องหมาสุดที่รักของเราป่วยได้
คุณอาจเกิดความสงสัยว่าน้องหมารับพยาธิเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ตามมาดูคำตอบกันเลยว่าสาเหตุที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง
- หากน้องหมาเผลอกลืนหมัดที่ติดเชื้อมีไข่พยาธิเข้าไปในขณะที่เลียตัวทำความสะอาด มันก็อาจทำให้สุนัขกินไข่ของพยาธิตัวตืดเข้าไปด้วยแบบไม่รู้ตัว
- หากน้องหมาเล่นคลุกดินที่ปนเปื้อน หนอนพยาธิก็สามารถเข้าสู่ร่างกายของพวกเค้าได้ โดยดินที่ปนเปื้อนมักจะมีไข่ตัวอ่อนของพยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ และพยาธิตัวตืดปะปนอยู่ เมื่อน้องหมากลืนกินเข้าไป ไข่พยาธิเหล่านี้ก็จะฝักตัวและอาศัยอยู่ในลำไส้ และทำให้สุนัขเจ็บป่วยได้ในที่สุด
- หากน้องหมากัดหรือกินสัตว์ขนาดเล็กที่ติดเชื้อ มันก็อาจจบลงด้วยการกินหนอนพยาธิเข้าไปด้วย ทั้งพยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด และพยาธิแส้ม้า ก็เข้าสู่ร่างกายน้องหมาได้ด้วยวิธีนี้เช่นกัน
- แม่สุนัขสามารถส่งต่อพยาธิตัวกลมและพยาธิปากขอไปยังลูกสุนัขที่ยังไม่เกิดผ่านทางมดลูก หรือส่งต่อในขณะที่กำลังให้นมลูกได้ นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการรับพยาธิเข้าร่างกายน้องหมาที่พบได้บ่อย ดังนั้นเจ้าของจึงควรปรึกษาขอคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันที่เหมาะสมจากสัตวแพทย์
พยาธิมักเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพหลาย ๆ อย่าง และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของน้องหมาด้วย โดยมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ซึม เบื่ออาหาร ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นมูกหรือเลือด ท้องป่อง อาเจียน (อาจพบพยาธิโตเต็มวัยปะปนออกมาด้วย) น้ำหนักลด ผิวหนังแห้ง และไถก้นกับพื้นเป็นประจำ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีพยาธิในร่างกาย และพยาธิในสุนัขมีลักษณะเป็นอย่างไร? พยาธิแต่ละชนิดจะสร้างความเสียหายแตกต่างกันไป โดยอาการหรือสัญญาณเตือนจากการมีพยาธิในสุนัข ที่เจ้าของควรสังเกตอย่างใกล้ชิด มีดังต่อไปนี้
- พยาธิในสุนัขชนิดนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและพบได้ในอุจจาระของน้องหมา บางครั้งพวกเค้าอาจไอเอาตัวพยาธิออกมาได้ด้วย โดยอาจพบแค่ตัวเดียวหรือพบเป็นกลุ่ม นอกจากนี้อาการชัดเจนที่อาจพบได้ เช่น ท้องร่วง ผิวหยาบกร้าน น้ำหนักตัวลดเซื่องซึม และ/หรือ ท้องไส้ปั่นป่วน
- พยาธิชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าพยาธิตัวกลม แต่ยังคงมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและพบได้ในอุจจาระ โดยอาการที่พบบ่อยคือ อุจจาระเป็นเลือด และ/หรือมีมูกที่มองเห็นได้เคลือบบนอุจจาระ และอาจพบสุนัขมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย
- พยาธิปากขอที่โตเต็มวัยจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า น้องหมาอาจมีอาการอุจจาระเป็นเลือด เซื่องซึม โลหิตจาง และอ่อนแรง
- พยาธิตัวตืดจะมีลักษณะ เป็นตัวแบนยาว แต่ คุณสามารถแยกแยะปล้องแก่พยาธิตัวตืดได้ง่าย เนื่องจากมันมีลักษณะเหมือนเมล็ดข้าว ปล้องแก่นี้ภายในจะบรรจุไข่พญาติตัวตืดอีกเป็นจำนวนมาก โดยจะพบปะปนอยู่ในอุจจาระของน้องหมา หากน้องหมาชอบไถก้นกับพื้น มีอาการคันและกัดบริเวณหลังของตัวเองบ่อย ๆ พวกเค้าอาจมีพยาธิตัวตืดในร่างกาย
เมื่อสัตวแพทย์ได้ทำการตรวจเช็กและพบแล้วว่าพยาธิในร่างกายของน้องหมาคือชนิดใด ขั้นตอนต่อไปคือการจัดแผนการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งการรักษาพยาธิสำหรับสุนัขอาจมาเป็นรูปแบบของการหยอดยาเฉพาะจุด หรือการกินยาถ่ายพยาธิสุนัข ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ร่างกายน้องหมากลับมาเป็นปกติ และถ่ายพยาธิในร่างกายออกไป นอกจากนี้สัตวแพทย์อาจแนะนำให้กินยาหรือ หยดยา ป้องกันหมัดทุกเดือน เนื่องจากหมัดเป็นพาหะของพยาธิตัวตืด และข้อมูลด้านล่างนี้ จะช่วยให้คุณดูแลป้องกันพยาธิในสุนัขได้ดีขึ้น -:
– การรักษาพยาธิสำหรับสุนัขด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีทั่วไป ที่ใช้ในการกำจัดพยาธิในสุนัข ยาถ่ายพยาธิต่างชนิดกัน มีผลต่อการกำจัดพยาธิได้ต่างชนิดกัน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนให้ยาถ่ายพยาธิกับสุนัขทุกครั้ง
– การหยอดยาเฉพาะจุด ในอดีตมีวัตถุประสงค์สำคัญในการกำจัดปรสิตภายนอกในสุนัข แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน มีการพัฒนายาหยอดเฉพาะจุด ที่ให้ผลดีเกี่ยวกับการกำจัดพยาธิที่อยู่ภายในตัวสุนัขได้ด้วย ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ยาหยอดเฉพาะจุด ประเภทที่เหมาะกับความต้องการกับสุนัขในขณะนั้น
คุณอาจเกิดความสงสัยและเป็นกังวลว่าพยาธิจะเป็นอันตรายกับคนในครอบครัวหรือไม่หากอาศัยอยู่ร่วมกับน้องหมาที่มีพยาธิ คำตอบคือ หากคุณสัมผัสกับอุจจาระของน้องหมาที่มีพยาธิ เช่น พยาธิตัวกลม ก็มีความเสี่ยงที่จะติดพยาธิได้เช่นกัน โดยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ การป้องกันคือไม่ควรปล่อยให้เด็กเข้าใกล้บริเวณขับถ่ายของน้องหมา และเจ้าของควรล้างมือทุกครั้งหลังจากทำความสะอาดบริเวณดังกล่าว พยาธิจะไม่ติดต่อจากน้องหมาที่กำลังนอนเฉย ๆ บนเตียง หรือแม้แต่จากการเลีย แต่จะติดต่อหากคุณสัมผัสโดยตรงกับไข่พยาธิหรือตัวอ่อนเท่านั้น
โดยปกติแล้ว ในลูกสุนัข ควรถ่ายพยาธิทุก 3 สัปดาห์ จนกระทั่งลูกสุนัข มีอายุ 12 สัปดาห์ จากนั้น ถ่ายพยาธิซ้ำ ทุกเดือน จนลูกสุนัขอายุ 6 เดือน และซ้ำอีกครั้งที่ 1 ปี ทั้งนี้โปรแกรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับความเหมาะสมของลูกสุนัขในแต่บละตัว จึงควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อวางแผนการถ่ายพยาธิที่เหมาะสมที่สุดให้ลูกสุนัข
อาการหลักอย่างหนึ่งของน้องหมาที่มีพยาธิคือ อาการท้องร่วงและอุจจาระเป็นเลือด หากคุณสังเกตเห็นว่าน้องหมาไม่ค่อยยอมขยับตัว ไม่ลุกเดิน ดูเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา และอุจจาระมีเลือดปนหรือมีมูกเคลือบ ควรรีบพาพวกเค้าไปพบสัตวแพทย์ทันที
ทำได้โดยปฏิบัติตามแผนการรักษาที่กำหนดโดยสัตวแพทย์ และเพื่อช่วยให้น้องหมากลับมามีสุขภาพที่ดีหลังจากการติดเชื้อ เจ้าของควรดูแลความสะอาดทั้งในบ้าน และรอบ ๆ บ้าน นอกจากนี้ควรทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด ให้ยาถ่ายพยาธิสุนัข และให้ซ้ำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ และอย่าลืมป้องกันหมัดที่เป็นพาหะของโรคพยาธิตัวตืดในลำไส้ด้วยหล่ะ
คุณสามารถปฏิบัติตามวิธีการป้องกันภายในบ้านที่แนะนำโดยสัตวแพทย์ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาน้องหมาด้วยตนเอง และไม่ควรซื้อยารักษาโรคพยาธิสุนัขที่มีวางขายในท้องตลาดมาใช้กับน้องหมา การปฏิบัติตามแผนการรักษาของสัตวแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการถ่ายพยาธิสุนัขอย่างปลอดภัย
คุณจะได้รับหนอนพยาธิก็ต่อเมื่อคุณสัมผัสกับอุจจาระของน้องหมา หากน้องหมาที่ติดเชื้ออุจจาระ ให้รีบทำความสะอาดบริเวณนั้นให้ทั่ว และรีบล้างมือทันที รวมถึงอย่าปล่อยให้เด็กเข้าใกล้บริเวณที่น้องหมาอุจจาระด้วย
ช้อปเลย!
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพดดิกรี® ได้ที่