PEDIGREE TH
ค้นหา
    การรักษาอาการเจ็บป่วย

    ทำความเข้าใจสาเหตุ ประเภท และการรักษาอาการชักของสุนัข

    ทำความเข้าใจสาเหตุ ประเภท และการรักษาอาการชักของสุนัข

    น้องหมามักจะมีความสดใสร่าเริง กระฉับกระเฉง ทำให้ดูสุขภาพดีอยู่ตลอดเวลา แต่เช่นเดียวกับคนเรา เจ้าตัวน้อยเหล่านี้ก็อาจประสบปัญหาด้านสุขภาพได้เป็นครั้งคราว ซึ่งหนึ่งในโรคที่น่ากังวลคือโรคลมชักในสุนัข แต่หากเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น สาเหตุ หรือวิธีดูแลป้องกัน คุณก็จะสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม

    คู่มือดูแลป้องกันโรคลมชักในสุนัขสำหรับมือใหม่

    อาการชักของสุนัขเกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ ซึ่งขัดขวางการทำงานของสมอง การเกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้อาจนำไปสู่อาการต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อกระตุกอย่างควบคุมไม่ได้ น้ำลายไหล และหมดสติชั่วคราว

    อาการชักเกร็งของสุนัขเกิดจากสาเหตุใด?

    อาการชักเกร็งของสุนัขเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ หรืออาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

    • ได้รับสารพิษจากพืชหรือสารเคมีบางชนิด
    • ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ ไตวาย หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • ปัญหาด้านสมอง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอก หรือโรคหลอดเลือดสมอง
    • น้องหมาบางสายพันธุ์ เช่น บอร์เดอร์ คอลลี่ และเยอรมันเชพเพิร์ด มักจะมีอาการโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

    สุนัขพันธุ์ใดบ้างที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคลมชัก?

    เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตของพ่อแม่สุนัขทั้งหลาย โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังพิจารณาและค้นหาสายพันธุ์ที่จะรับเลี้ยง ทั้งนี้สุนัขบางสายพันธุ์ก็มีความบกพร่องทางพันธุกรรม ทำให้มีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการชัก เช่น

    • บอร์เดอร์ คอลลี่ 
    • เยอรมันเชพเพิร์ด
    • ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
    • โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
    • บีเกิล
    • เบลเยี่ยม แตร์ฟือเริน
    • ชเนาเซอร์

    สัญญาณเตือนของโรคลมชักในสุนัข

    การหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ จะช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาได้ดีขึ้น โดยสัญญาณเตือนทั่วไปของโรคชักในสุนัขมีดังนี้

    • ทรุดตัวลงอย่างกะทันหันและกล้ามเนื้อเกร็ง
    • ท่าทางเหยียดเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก
    • น้ำลายไหล กัดฟัน หรืออาจน้ำลายฟูมปาก
    • ตะกุยขาทั้ง 4 ข้าง
    • หลังจากเกิดอาการชัก น้องหมาอาจดูสับสนหรือตาบอดชั่วคราว

    ชนิดของอาการชักในสุนัข

    อาการชักของสุนัขแต่ละตัวจะแตกต่างกัน ทั้งความรุนแรง ระยะเวลา และอาการที่แสดงออก ต่อไปนี้เป็นชนิดของอาการชักในสุนัขที่พบบ่อย

    • การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว – เกิดจากกระแสไฟฟ้ารั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้น้องหมาหมดสติและมีอาการชักอย่างรุนแรง
    • การชักเกร็งบางส่วน – สมองได้รับผลกระทบเพียงบางส่วน ทำให้ร่างกายบางส่วนเคลื่อนไหวผิดปกติ
    • การชักเฉพาะที่แบบซับซ้อน – น้องหมาอาจมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ไล่งับหางอย่างแรงหรือโจมตีวัตถุที่มองไม่เห็น
    • การชักที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน – เป็นอาการชักที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

    การป้องกันและรักษาโรคลมชักในสุนัข

    แม้ว่าเราจะป้องกันอาการชักไม่ได้ทั้งหมด แต่การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีการรักษาโรคชักในสุนัขอย่างถูกต้อง อาจช่วยให้น้องหมาของคุณเจ็บปวดน้อยลงได้

    1. ตรวจสอบความปลอดภัย – เมื่อน้องหมามีอาการชัก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเค้าอยู่ในสถานที่ปลอดภัย อยู่ห่างจากบันได ของมีคม และของอันตรายต่าง ๆ
    2. สงบสติอารมณ์ – พยายามสงบสติอารมณ์ให้ได้มากที่สุด น้องหมาต้องการความช่วยเหลือจากคุณ
    3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณปาก – ระวังอย่าให้อะไรเข้าปากน้องหมาเพื่อป้องกันการถูกกัดโดยไม่ได้ตั้งใจ
    4. ปรึกษาสัตวแพทย์ – หลังจากน้องหมามีอาการชัก สิ่งสำคัญคือต้องติดต่อกับสัตวแพทย์ เพื่อตรวจเช็กร่างกายและทำการทดสอบต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อหาความผิดปกติของร่างกาย (MRI)
    5. การใช้ยา – ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความถี่ของอาการชัก สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อควบคุมอาการในอนาคต ทั้งนี้ควรให้ยาน้องหมาตามกำหนดอย่างเคร่งครัด

    อาการชักอาจเป็นภาวะที่น่ากลัวและน่ากังวล แต่หากคุณหมั่นสังเกตอาการผิดปกติและคอยดูแลเอาใจใส่น้องหมาอย่างใกล้ชิด น้องหมาก็จะปลอดภัยและมีชีวิตที่มีความสุข

    ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับวิธีดูแลป้องกันโรคชักในสุนัขที่ถูกต้องก่อนเสมอ

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคลมชักในสุนัข

    น้องหมาจะมีอาการใดบ้างหลังมีอาการชัก?

    น้องหมาส่วนใหญ่จะหายจากอาการชักโดยไม่มีอาการใดแทรกซ้อน แต่อาจมีความสับสน ตาบอดชั่วคราว น้ำลายไหลมาก และอาจจะพยายามซ่อนตัว แนะนำให้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและปรึกษาสัตวแพทย์เมื่อน้องหมามีอาการน่ากังวล

    สายพันธุ์ใดที่มักจะมีอาการชักบ่อย?

    น้องหมาที่เป็นโรคลมชักจะอยู่ได้นานแค่ไหน?

    อาการชักในสุนัขมีลักษณะอย่างไร?

    Pedigree imagery
    ช้อปผลิตภัณฑ์เพดดิกรี®
    Close popup