เจ้าของสุนัขสามารถดูคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่น้องหมาควรได้รับในแต่ละวันได้ที่ซองอาหารของเพดดิกรี®แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า น้องหมาแต่ละตัวก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการให้อาหารอาจปรับเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย
หากคุณให้อาหารน้องหมาวันละ 2 มื้อ ปริมาณของ 2 มื้อรวมกันต้องตรงตามปริมาณที่แนะนำต่อวัน
ปริมาณอาหารที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการออกกำลังกายของน้องหมาด้วย ว่ามากน้อยขนาดไหนถ้าน้องหมาของคุณออกกำลังกายน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ให้ลดปริมาณอาหารลง 10% จากปริมาณอาหารที่แนะนำ
สถาบันโภชนาการและการดูแลสัตว์เลี้ยงชั้นนำวอลแธม™ แนะนำให้ผสมอาหารเปียกและอาหารเม็ดในสัดส่วน 50:50
ในตารางแนะนำ จะคำนวณและอ้างอิงจากอาหารสุนัข เพดดิกรี®แบบเม็ดและแบบเปียกเท่านั้น หากเจ้าของให้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากหรือขนมเพิ่มเติม ควรปรับลดปริมาณอาหารตามความเหมาะสม
ไม่ควรให้ขนมหรืออาหารอื่นๆ เกิน 10% ของแคลอรี่จากอาหารที่น้องหมาควรได้รับในแต่ละวัน
ปริมาณพลังงานที่น้องหมาควรได้รับต่อวันคือเท่าไหร่?
เมื่อพูดถึงอาหารและการให้อาหารสุนัข สิ่งสำคัญที่สุดคือการกำหนดปริมาณอาหาร เพื่อให้พวกเค้าได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านช่วงวัย สายพันธุ์ ขนาดตัว ไลฟ์สไตล์ และปัจจัยอื่น ๆ ทำให้น้องหมาแต่ละตัวมีความต้องการปริมาณพลังงานต่างกันออกไป
ช่วงวัยหรืออายุ
รู้หรือไม่? ลูกสุนัขต้องการพลังงานมากกว่าน้องหมาในวัยอื่น เพราะเจ้าตัวน้อยเหล่านี้มีความตื่นตัวมากกว่า และมีอัตราการเผาผลาญสูงกว่า
ขนาดตัว
ถึงแม้จะมีตัวเล็กจิ๋ว แต่น้องหมาพันธุ์เล็ก (อย่างชิวาวา) ต้องการสารอาหารและปริมาณพลังงานมากกว่าน้องหมาพันธุ์ใหญ่เสียอีก เนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญสูงกว่าและมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่า
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความต้องการพลังงานของน้องหมา
คุณสามารถคำนวณปริมาณการให้อาหารสุนัขที่ถูกต้องได้โดยอ้างอิงจากตารางแนะนำปริมาณพลังงานที่น้องหมาควรได้รับดังนี้
ปริมาณพลังงานต่อวันของน้องหมาที่ชอบทำกิจกรรม
- สำหรับสุนัขน้ำหนักไม่เกิน 4.5 กก.: 400 แคลอรี
- สำหรับสุนัขที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 13 กก. - 27 กก.: 900 – 1300 แคลอรี
- สำหรับสุนัขที่มีน้ำหนักระหว่าง 27 กก. - 32 กก.: 1,700 แคลอรี
ปริมาณพลังงานต่อวันของน้องหมาที่ไม่ค่อยทำกิจกรรม
- สำหรับสุนัขน้ำหนักไม่เกิน 4.5 กก.: 300 แคลอรี
- สำหรับสุนัขที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 13 กก. - 27 กก.: 670 – 990 แคลอรี
- สำหรับสุนัขที่มีน้ำหนักระหว่าง 27 กก. - 32 กก.: 1,300 แคลอรี
แนวทางการกำหนดปริมาณของอาหารสุนัขแต่ละชนิด
-
การผสมอาหารเม็ดและอาหารเปียก
และนี่คือแนวทางการผสมอาหารเม็ดและอาหารเปียกในอัตราส่วนที่เหมาะสม
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 1 - 5.5 กก.: อาหารเปียก 85 กรัม อาหารเม็ด ¾ ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 5.6 - 9 กก.: อาหารเปียก 85 กรัม อาหารเม็ด ¾ - 1 ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 9 - 11 กก.: อาหารเปียก 85 กรัม อาหารเม็ด 1- 1¾ ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 11 - 23 กก.: อาหารเปียก 170 กรัม อาหารเม็ด 1½ - 2 ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 23 - 34 กก.: อาหารเปียก 170 กรัม อาหารเม็ด 2 - 3 ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 34 กก. ขึ้นไป: อาหารเปียก 170 กรัม อาหารเม็ด 2½ - 3 ถ้วย
-
ปริมาณอาหารเปียก
น้องหมาควรได้รับอาหารเปียกปริมาณ 85 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 - 1.5 กก. ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณตามความต้องการของร่างกายและเงื่อนไขทางสุขภาพของน้องหมาแต่ละตัวได้
-
ปริมาณอาหารเม็ด
อาหารเม็ดเหมาะสำหรับลูกสุนัขที่มีอายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นหากยังมีอายุไม่ถึง ควรผสมน้ำให้อาหารเม็ดนั้นอ่อนนุ่มลงก่อนจึงค่อยเสิร์ฟให้กับพวกเค้า แนวทางการให้อาหารสุนัขดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณคำนวณปริมาณอาหารเม็ดได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 1 - 5.5 กก.: อาหารเม็ดปริมาณ ⅓ - 1 ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 5.6 - 9 กก.: อาหารเม็ดปริมาณ 1 - 1⅓ ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 9 - 11 กก.: อาหารเม็ดปริมาณ 1⅓ - 2 ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 11 - 23 กก.: อาหารเม็ดปริมาณ 2 - 2⅔ ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 23 - 34 กก.: อาหารเม็ดปริมาณ 2⅔ - 3⅓ ถ้วย
- สำหรับสุนัขน้ำหนัก 34 กก. ขึ้นไป: อาหารเม็ดปริมาณ 3⅓ - 4¼ ถ้วย (ให้เพิ่มปริมาณ ¼ ถ้วยต่อน้ำหนักตัว 4.5 กก. หากน้องหมามีน้ำหนักมากกว่า 45 กก.)
ความสำคัญของการให้อาหารสุนัขตามปริมาณที่แนะนำ
การทำความเข้าใจและเลือกให้อาหารน้องหมาตามคำแนะนำถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพวกเค้าก็มีความต้องการด้านโภชนาการเช่นเดียวกันกับคนเรา การขาดสารอาหารหรือการได้รับมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งจะส่งผลต่ออายุขัยและคุณภาพชีวิตในระยะยาวของพวกเค้า
ควรให้อาหารน้องหมาบ่อยแค่ไหน?
ตามมาดูแนวทางการให้อาหารน้องหมาในแต่ละช่วงวัย พร้อมกำหนดจำนวนมื้ออาหารในแต่ละวันไปด้วยกัน
- สำหรับลูกสุนัขตัวน้อย แนะนำให้แบ่งมื้ออาหารออกเป็น 3 มื้อต่อวัน อย่างที่รู้กันดีว่าลูกสุนัขต้องการพลังงานมากกว่าสุนัขโตเต็มวัย เนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญสูงกว่าและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมากกว่า ในหนึ่งวันเจ้าของสามารถให้อาหาร 3 มื้อหรือมากกว่า เพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของพวกเค้า และเมื่อลูกสุนัขมีอายุครบ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ก็จะสามารถเปลี่ยนเป็นตารางการให้อาหารสุนัขโตเต็มวัยได้
- เมื่อน้องหมามีอายุครบ 3 เดือน แนะนำให้ลดจำนวนมื้ออาหารเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน เพราะอัตราการเผาผลาญและความต้องการทำกิจกรรมของพวกเค้าเริ่มลดน้อยลงแล้ว โดยทั้งสองมื้ออาจให้ห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง ตารางการให้อาหารสุนัขรูปแบบนี้ได้รับการแนะนำจากสัตวแพทย์ว่าเหมาะสมกับสุนัขโตเต็มวัย และสามารถใช้ได้ตลอดทั้งชีวิตของน้องหมา
- ในกรณีที่น้องหมาบาดเจ็บหรือล้มป่วย คุณสามารถปรับเปลี่ยนตารางการให้อาหารหรือมื้ออาหารต่อวันได้ตามความเหมาะสม เนื่องจากพวกเค้าเหล่านี้มักต้องการสารอาหารและพลังงานต่างจากน้องหมาทั่วไป สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้
ตารางการให้อาหารน้องหมาตามขนาดสายพันธุ์
ตารางแนะนำนี้จะอธิบายการให้อาหารที่เหมาะสำหรับน้องหมาแต่ละขนาดในช่วงวัยต่าง ๆ
- สุนัขพันธุ์ทอย เจ้าตัวน้อยกลุ่มนี้มักมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 5 กก.พวกเค้าจะกลายเป็นสุนัขโตเต็มวัยเมื่อมีอายุ 9 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่สามารถเปลี่ยนมาให้อาหารสูตรสุนัขโตเต็มวัยได้แล้ว และเมื่อมีอายุครบ 10 ปี พวกเค้าจะเข้าสู่ช่วงสูงวัย การเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมจะลดน้อยลง อาหารจึงควรเปลี่ยนเป็นสูตรสำหรับสุนัขสูงวัยเพื่อตอบสนองความต้องการและการใช้ชีวิตของพวกเค้าได้อย่างเหมาะสม
- สุนัขพันธุ์เล็ก เป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักประมาณ 5 – 10 กก. พวกเค้าจะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยเมื่อมีอายุ 12 เดือน ซึ่งเจ้าของสามารถเปลี่ยนมาให้อาหารสำหรับสุนัขโตได้ และเช่นเดียวกับสุนัขพันธุ์ทอย พวกเค้าจะเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุ 10 ปี ในวัยนี้การใช้ชีวิตของพวกเค้าจะเปลี่ยนไป ความกระตือรือร้นและการเคลื่อนไหวลดน้อยลง การเลือกอาหารจึงควรเปลี่ยนไปตามวัยด้วย
- สุนัขพันธุ์กลางจะมีน้ำหนักตัวระหว่าง 10 – 25 กก. เมื่อมีอายุครบ 12 เดือนก็จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย สำหรับน้องหมาพันธุ์นี้ เมื่อมีอายุครบ 8 ปี จะถือว่าเข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนอาหารเป็นสูตรสำหรับสุนัขสูงวัยเร็วกว่าน้องหมาพันธุ์ทอยและพันธุ์เล็ก
- สุนัขพันธุ์ใหญ่จะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 25 – 45 กก. ควรให้อาหารสูตรลูกสุนัขจนกว่าจะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย หรือเมื่อมีอายุครบ 18 เดือน และพวกเค้าเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่อมีอายุ 8 ปีเหมือนน้องหมาพันธุ์กลาง
- สุนัขพันธุ์ไจแอนท์ จะมีน้ำหนักตัว 45 กก. ขึ้นไป พวกเค้าเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยช้ากว่าเพื่อน ๆ พันธุ์อื่น หรือเมื่อมีอายุ 24 เดือน แต่จะเข้าสู่ช่วงสูงวัยเร็วกว่า หรือเมื่อมีอายุ 5 ปี
วิธีการเปลี่ยนอาหารให้ลูกสุนัขอย่างเหมาะสม
นอกจากชนิดของอาหาร การกำหนดปริมาณ และการจัดตารางเวลาแล้ว การเปลี่ยนสูตรอาหารให้เหมาะกับช่วงวัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน อย่างลูกสุนัขต้องการสารอาหารมากกว่าแต่ปริมาณอาหารน้อยกว่าน้องหมาโต การเปลี่ยนสูตรอาหารจึงควรรอเวลาที่เหมาะสม
จากตารางเวลาให้อาหารสุนัขข้างต้น คุณอาจสังเกตได้ว่าน้องหมาแต่ละขนาดสายพันธุ์ เข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยหรือสูงวัยแตกต่างกัน ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยนการให้อาหารตามตารางอายุและขนาดดังกล่าวได้
ทั้งนี้การเปลี่ยนอาหารให้ลูกสุนัขไม่ควรทำแบบทันทีทันใด แต่แนะนำให้ปรับไปอย่างช้า ๆ โดยในช่วงแรกให้ผสมอาหารเดิมกับอาหารใหม่ในปริมาณเล็กน้อย จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารใหม่ขึ้น และลดปริมาณอาหารเก่าลงภายในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากครบ 7 วันหรือมากกว่า น้องหมาก็จะสามารถเปลี่ยนมากินอาหารใหม่ได้ตามปกติ